เชื้อเอชไอวี (HIV) ซึ่งเป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคเอดส์ (AIDS) ที่มีผลกระทบร้ายแรงต่อร่างกาย การเข้าใจพฤติกรรมเสี่ยงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เราสามารถป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อ HIV ได้ดียิ่งขึ้น บทความนี้จะพูดถึงพฤติกรรมเสี่ยงติด HIV และวิธีป้องกันการติดเชื้อ พฤติกรรมแบบไหนที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสบ้าง และหากมีความเสี่ยงจะป้องกันตัวเองอย่างไร บทความนี้รวบรวมคำตอบมาให้แล้ว
พฤติกรรมที่เสี่ยงติดต่อการเชื้อ HIV
มีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย
การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดหรือทางทวารหนักโดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย มีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อ HIV การใช้ถุงยางอนามัยเป็นมาตรการป้องกันที่มีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงนี้ นอกจากนี้ การมีเพศสัมพันธ์ด้วยการใช้ปาก หรือ ออรัลเซ็กซ์ ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV ด้วยเช่นกัน เพราะ เชื้อ HIV สามารถติดต่อผ่านเลือดหรือสารคัดหลั่งต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างกิจกรรมนี้
การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
การใช้เข็มฉีดยาหรือกระบอกฉีดยาร่วมกัน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ติดยาเสพติดชนิดฉีดผ่านเข็มฉีดยา มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อ HIV และโรคติดต่ออื่น ๆ มาได้ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่นโดยเด็ดขาด เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคติดต่อที่ติดมาจากเข็ม
การตั้งครรภ์และการคลอดบุตร
กรณีนี้จะเป็นกรณีพิเศษที่อาจติดต่อจากแม่สู่ลูก ซึ่งการติดเชื้อ HIV สามารถถ่ายทอดจากแม่สู่ทารกในครรภ์ รวมถึงการคลอดบุตรด้วย เพื่อป้องกันการถ่ายทอดเชื้อ HIV ให้แม่ต้องได้รับคำแนะนำและรักษาอย่างเหมาะสมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตลอดระยะเวลาตั้งครรภ์และคลอด
จุดจัดจำหน่ายชุดตรวจ HIV ด้วยตัวเองใกล้คุณ
วิธีป้องกันการติดเชื้อ HIV
การใช้ถุงยางอนามัย
การใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์เป็นมาตรการป้องกันที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการป้องกันการติดเชื้อ HIV และโรคติดต่อทางเพศ
รับประทานยา PrEP
PrEP (Pre-Exposure Prophylaxis) เป็นยาที่ทานเพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV โดยกินทุกวัน หากมีความเสี่ยงสูง เช่น ไม่ใส่ถุงยางอนามัยหรือมีคู่นอนหลายคน ควรรับคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อที่จะใช้ยาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
รับประทานยา PEP
PEP (Post-Exposure Prophylaxis) เป็นยาที่ใช้หลังจากมีความเสี่ยงติดเชื้อ HIV เช่นมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยแตก ควรรับการรักษาด้วย PEP ภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากความเสี่ยง
อินสติ INSTi ชุดตรวจ HIV ด้วยตนเอง
ตรวจสุขภาพและติดตามการรักษา
หากสงสัยว่าตนเองเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส HIV ควรตรวจสุขภาพเป็นประจำและรับการรักษาอย่างเหมาะสม รวมถึงการตรวจหาการติดเชื้อ HIV อย่างเหมาะสม
การรู้และเข้าใจพฤติกรรมที่เสี่ยงติดเชื้อ HIV และการป้องกันมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อ HIV ในสังคม ทั้งนี้ ควรรับคำแนะนำและรับการรักษาจากแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญเพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของ HIV ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อความปลอดภัยของชุมชนและสังคมของเราทั้งวันนี้และในอนาคต แสดงความรับผิดชอบต่อสุขภาพของตนเองและคนรอบข้างของเราด้วยการดูแลตัวเองอย่างดีที่สุด