ตรวจ HIV ไม่เจอ แต่มีอาการ อย่างที่ทราบกันดีว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อภูมิคุ้มกัน และยังไม่สามารถค้นพบวิธีการรักษาให้หายขาดได้ คือ การติดเชื้อเอชไอวี โดยความอันตรายของโรคคือผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มักจะไม่ทราบว่าตนติดเชื้อ จนในที่สุดเมื่อมีอาการที่น่าสงสัยก็พบว่าตนเข้าสู่ระยะรุนแรง ซึ่งทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการเกิดโรคฉวยโอกาสอื่น ๆ ได้สูงกว่า ที่สำคัญไปกว่านั้นในระหว่างที่ผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนมีเชื้อเอชไอวีในร่างกาย อาจมีการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้หากไม่มีการป้องกันขณะมีเพศสัมพันธ์

ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างหันมาให้ความสำคัญ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ต่อการตรวจ HIV ตลอดจนความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อ รวมถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรักษาที่ได้พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการประชาสัมพันธ์ว่าหน่ึงในสิ่งแรกที่ทุกคนสามารถทำได้ คือ การตรวจ HIV อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการทราบสถานะของตนได้อย่างทันท่วงที หากตรวจพบว่าติดเชื้อเอชไอวีจะได้เข้าสู่กระบวนการรักษาได้เร็วที่สุด และยับยั้งการลุกลามของเชื้อเอชไอวีไม่ให้เข้าสู่ระยะเอดส์ที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตามการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีในปัจจุบันหากรักษาได้เร็วก็สามารถใช้ชีวิตได้อย่างคนปกติทั่วไป แตกต่างจากเมื่อครั้งอดีตที่เทคโนโลยีทางการแพทย์ยังไม่ทันสมัย ที่ส่งผลให้ทั่วโลกมีอัตราการเสียชีวิตจากเอชไอวีมากมาย

ตรวจเอชไอวีทำได้ง่ายและใช้เวลาไม่นาน

การตรวจ HIV ในปัจจุบันทำได้ง่ายและใช้เวลาไม่นาน

ความเชื่อเดิม ๆ ที่ทำให้หลายคนยังเข้าใจผิดว่า การตรวจ HIV มีกระบวนการที่ยุ่งยากใช้เวลานาน นั่นเป็นเพราะว่าในอดีตการพัฒนาด้านการแพทย์ยังไม่ทันสมัยเท่ากับปัจจุบัน รวมถึงการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ยังค่อนข้างยาก ด้วยสาเหตุนี้ทำให้ผู้คนส่วนมากยังไม่เปลี่ยนความเชื่อเดิม ๆ เหล่านี้เท่าที่ควร ความจริงแล้วในปัจจุบันหากคุณมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและต้องการเข้ารับการตรวจ HIV สามารถทำได้ง่ายและใช้เวลาในการตรวจเพียงไม่นานก็ทราบผล โดยกระทรวงสาธารณสุขได้บรรจุให้ การตรวจ HIV อยู่หลักสุขภาพถ้วนหน้าที่ประชาชนไทยที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี เข้ารับการตรวจคัดกรองได้ฟรี ปีละ 2 ครั้ง ทั้งนี้ยังมีสถานพยาบาล คลินิก และมูลนิธิที่ให้บริการตรวจ HIV กระจายอยู่ทั่วประเทศมากมาย จึงสรุปได้ว่าการตรวจ HIV ในปัจจุบันทำได้ง่ายมากขึ้น เข้าถึงได้ง่ายกว่าเดิม ตลอดจนสามารถเลือกเข้าใช้บริการได้ตามความสะดวก

ในกรณีที่ ตรวจ HIV ไม่เจอ หรือ ผลลบ จะมั่นใจได้มากน้อยแค่ไหน?

การ ตรวจ HIV ไม่เจอเชื้อ แต่มีอาการ มีปัจจัยหลากหลายด้านที่ส่งผลให้ผลการตรวจเป็นลบ ทั้งที่จริงแล้วร่างกายอาจมีเชื้อเอชไอวีอยู่ กรณีนี้ถูกพูดถึงในหลากหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นระยะห่างจากการรับเชื้อครั้งล่าสุด การรับยาต้านไวรัส หรือความผิดพลาดของการตรวจ HIV เป็นต้น ซึ่งเราได้รวบรวมมาอธิบายให้ได้ทำความเข้าใจดังต่อไปนี้

ระยะห่างในการตรวจ HIV

  • การตรวจไม่พบเชื้อเอชไอวีปัจจัยหนึ่งอาจเกิดจากปริมาณเชื้อในร่างกาย ที่มีไม่มาพอให้สามารถตรวจพบได้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วชุดตรวจ HIV ในปัจจุบันจะตรวจปริมาณไวรัสได้ต่ำที่สุดประมาณ 20-50 ซีซีของเลือด (copies) ดังนั้นหากผู้ตรวจ HIV เข้าตรวจเร็วกว่าเวลาที่เหมาะสม ประกอบกับใช้วิธีการตรวจที่ไม่เหมาะกับระยะห่างจากการติดเชื้อแล้วละก็ แน่นอนว่าความเป็นไปได้ที่จะตรวจ HIV ไม่เจอมีสูงมากด้วยเช่นกัน แต่ทั้งนี้มีวิธีการตรวจ HIV ที่ทราบผลได้ในปริมาณไวรัสที่น้อย นั่นก็คือการตรวจแบบ NAT ที่มาพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่สูง รวมไปถึงมีให้บริการเฉพาะสถานพยาบาลบางแห่งเท่านั้น อย่างไรก็ตามหากไม่มั่นใจว่าควรตรวจเมื่อไรจึงจะเหมาะสมควรปรึกษาแพทย์ก่อนจึงจะดีที่สุด และในกรณีที่ตรวจ HIV ไม่พบ แพทย์จะแนะนำให้ตรวจซ้ำอีกครั้งทุก ๆ 30 วันติดต่อกัน 3 ครั้ง จึงจะยืนยันได้ว่าไม่ติดเชื้อเอชไอวีจริง

ผู้ที่ทานยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่อง ทำให้ ตรวจ HIV ไม่เจอ

  • อีกหนึ่งสาเหตุที่ส่งผลให้การ ตรวจ HIV ไม่พบเชื้อ คือหากผู้ตรวจรับประทานยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานานกว่า 6 เดือนขึ้นไป จะทำให้ปริมาณเชื้อไวรัสเอชไอวีในเลือดมีค่าต่ำกว่า 50 ซีซีของเลือด (coppies) และส่งผลให้ตรวจ HIV ไม่พบ ทั้งที่ร่างกายมีเชื้อเอชไอวีอยู่ ซึ่งนั่นไม่ได้หมายความว่าร่างกายไม่มีเชื้อหรือเชื้อเอชไอวีถูกทำลายจนหมด เมื่อหยุดทายาต้านเชื้อไวรัสเอชไอวีจะเพิ่มปริมาณขึ้นภายในเวลา 1-2 สัปดาห์ ในกรณีนี้หากผู้ที่รับยาต้านอยู่แล้วไม่มั่นใจว่าตนจะติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการตรวจเพื่อประเมินระยะเวลาในการตรวจที่เหมาะสม
ตรวจเอชไอวีไม่พบ แนะนำให้ตรวจซ้ำที่ 3-6 เดือนหลังจากตรวจครั้งล่าสุด

อย่างไรก็ตามการตรวจ HIV ไม่เจอ หรือ ได้ผลการตรวจเป็นลบ (Negative หรือ Non-Reactive) เพียงครั้งเดียว ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าไม่ติดเชื้อเอชไอวีได้ 100% จึงไม่ควรชะล่าใจต่อผลการตรวจ ทางที่ดีที่สุดคือควรหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อการติดเชื้อให้ได้มากที่สุด รวมถึงเข้ารับการตรวจซ้ำอีกครั้งตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด จนกว่าจะได้รับการยืนยันจากแพทย์จึงจะมั่นใจได้ว่าคุณไม่มีเชื้อเอชไอวีในร่างกาย

 

Click to rate this post!
[Total: 1 Average: 5]