ตรวจ HIV ด้วยตนเอง และ ตรวจ HIV ที่คลินิก นับว่าเป็นหนึ่งในแนวทางการป้องกันการติดเชื้อและการแพร่เชื้อเอชไอวีที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีระยะแรกมักจะไม่แสดงอาการให้เห็นอย่างชัดเจน ทำให้เกิดการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้โดยไม่รู้ตัว ตลอดจนการเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่ออาการที่รุนแรงมากยิ่งขึ้นในที่สุด ด้วยเหตุนี้เอง

 

“การตรวจเอชไอวี” จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง

 

ไม่ว่าจะในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีโดยตรง หรือ ผู้คนทั่วไป การหันมาตรวจเอชไอวีอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง ย่อมเป็นการดีต่อการรับมือกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงทีนั่นเอง ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีในการตรวจเอชไอวีในปัจจุบัน ได้มีการค้นคว้าวิจัยอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา เพื่อให้สามารถยับยั้งเชื้อไวรัสเอชไอวีได้ 100% ซึ่งแน่นอนว่าในปัจจุบันหน่วยงานทางด้านการแพทย์ยังไม่สามารถหาแนวทางการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีให้หายขาดได้ ซึ่งนวัตกรรมที่ได้มีการคิดค้นและมีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ วิธีการตรวจหาเชื้อไวรัสเอชไอวีได้อย่างรวดเร็ว จากแต่เดิมที่ผู้ที่มีความเสี่ยงจะต้องเข้ารับการตรวจคัดกรองเบื้องต้นภายในสถานพยาบาล หรือ คลินิกเฉพาะด้านเกี่ยวกับเอชไอวี ได้มีการพัฒนา ชุดตรวจเอชไอวี ที่สามารถตรวจได้ด้วยตนเอง ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับสากลมากมาย โดยที่ผู้ตรวจเจาะเลือดจากปลายนิ้วมือ หรือ ตรวจจากน้ำลายเท่านั้น ที่สำคัญคือใช้ระยะเวลาในการแสดงผลตรวจเอชไอวีเพียงไม่กี่นาที 

การพัฒนาด้านการ ตรวจ HIV ในปัจจุบัน

แรกเริ่มของการตรวจเอชไอวี แน่นอนว่าจะต้องเข้ารับการตรวจยืนยันในสถานพยาบาลเท่านั้น ซึ่งต่อมาเมื่อระยะเวลาผ่านไปการพัฒนาด้านการแพทย์ที่มีต่อเอชไอวี ย่อมดีขึ้นเรื่อย ๆ ตามลำดับ และในที่สุดก็สามารถนำองค์ความรู้เหล่านี้ถ่ายทอดไปสู่องค์กรขนาดเล็กอย่าง คลินิกตรวจเอชไอวี หรือ คลินิกเฉพาะทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผู้ที่มีความต้องการตรวจเอชไอวีไปจนถึงผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ สามารถเข้ารับคำปรึกษาตลอดจนรับการตรวจคัดกรองเอชไอวีได้อย่างสะดวกสบาย โดยหากทราบผลว่าผู้ตรวจติดเชื้อเอชไอวีทางคลินิกนั้น ๆ จะส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลอย่างเป็นระบบ จึงมั่นใจได้ว่าทุกกระบวนการภายในคลินิกตรวจเอชไอวีนั้นจะคำนึงถึงความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว เช่นเดียวกับที่ผู้ป่วยควรได้รับจากสถานพยาบาลเช่นกัน

และเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา WHO หรือ องค์การอนามัยโลก ได้นำเสนอนวัตกรรมใหม่ที่มีส่วนสำคัญในการลดอัตราการติดเชื้อเอชไอวีและการแพร่เชื้อโดยไม่รู้ตัวได้อย่างตอบโจทย์ ด้วยการเปิดตัว ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง ซึ่งแน่นอนว่าการใช้งานก็เป็นไปตามชื่อ โดยการตรวจที่ง่าย สะดวกต่อการใช้งานด้วยตนเอง ทั้งยังสามารถทราบผลตรวจได้อย่างรวดเร็วเทียบเท่าการตรวจเอชไอวีในคลินิกหรือสถานพยาบาลอีกด้วย นับว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจให้กับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ผู้ที่ไม่สะดวกเข้ารับการตรวจเอชไอวีในสถานพยาบาล ผู้ที่ต้องการความเป็นส่วนตัว และผู้ที่ต้องการทราบผลเลือดอย่างรวดเร็ว 

ตรวจ HIV ด้วยตนเอง แตกต่างจากการตรวจที่คลินิกอย่างไร?

ปฏิเสธไม่ได้ว่าความแตกต่างของการตรวจเอชไอวีด้วยตนเองนั้น เป็นสิ่งที่ใครหลาย ๆ คนให้ความสำคัญอย่างมาก เพราะนอกจากจะเป็นการตรวจเบื้องต้นโดยไม่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำแล้ว ยังถือว่าเป็นการตรวจที่ผู้ตรวจจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบถึงขั้นตอนการตรวจที่ถูกต้อง ที่สำคัญคือควรมีองค์ความรู้ด้านเอชไอวีอย่างเหมาะสมด้วยเช่นกัน เช่น ความรู้เบื้องต้นของเอชไอวี เมื่อไหร่ที่ควรไปตรวจเอชไอวี ความรู้ในการเว้นระยะการตรวจเพื่อให้ได้ผลการตรวจที่แม่นยำ ความรู้ในการรับมือผลการตรวจ ทั้งในแง่ของการปฏิบัติตัวไปจนถึงการรับมือทางด้านจิตใจ และการเข้ารับการตรวจยืนยันโดยแพทย์อีกครั้งเพื่อรับการรักษาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งนี้เราได้รวบรวมความแตกต่างหลัก ๆ ที่เห็นได้ชัดของ การตรวจ HIV ด้วยตนเอง เมื่อเทียบกับการตรวจเอชไอวีในคลินิกให้ได้ทำความเข้าใจดังต่อไปนี้

การค้นคว้าทำความเข้าใจด้วยตนเอง

  • โดยอาจมีสื่อให้คำแนะนำ หรือ สื่อนำเสนอขั้นตอนการตรวจอย่างละเอียดจากผู้ผลิตให้ได้ศึกษาก่อนทำการตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง

การเว้นระยะการตรวจเลือดให้เหมาะสม

  • หลักการนี้ผู้ตรวจจะต้องจำได้ว่าตนผ่านความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีครั้งล่าสุดเมื่อไหร่ โดยจากการศึกษาของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าไม่ควรตรวจเอชไอวีในระยะฟักตัว เพราะมีโอกาสสูงที่จะตรวจไม่พบเชื้อทั้งที่ในร่างกายมีเชื้อเอชไอวีอยู่ (กรณีใช้ชุดตรวจแบบเจาะเลือด) ทั้งนี้ผู้ตรวจควรศึกษาให้มั่นใจก่อนว่าชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง ที่ซื้อมาใช้นั้นมีคำแนะนำระยะที่เหมาะสมไว้ที่เท่าไหร่

ความคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้นได้

  • นับว่าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะการตรวจเอชไอวีด้วยตนเองนั้นจะต้องมีการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยตนเอง ในแต่ละกระบวนการของการตรวจอาจมีความผิดพลาดจากการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการผสมสารเคมี การเขย่า อุบัติเหตุ หรือแม้กระทั่งความไม่สมบูรณ์ของชุดตรวจ อาจทำให้ผลการตรวจไม่มีความแม่นยำเท่าที่ควร

การรับมือต่อผลตรวจได้อย่างเหมาะสม

สิ่งสำคัญที่ผู้ตรวจจะต้องทราบว่าควรรับมืออย่างไร ทั้งในกรณีที่พบว่าไม่ติดเชื้อและติดเชื้อหลังจากทราบผลตรวจจากชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง ผู้ตรวจจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัย การดูแลตนเอง การเข้ารับการตรวจยืนยันจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที ตลอดจนการรับมือด้านจิตใจของตนเองได้อย่างเหมาะสม เพื่อลดความตื่นตระหนกแล้วหันมาเข้าสู่กระบวนการทางการแพทย์อย่างมั่นใจ ในส่วนของกรณีตรวจไม่พบเชื้อไม่ได้หมายความว่าจะสามารถใช้ชีวิตให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้เช่นเคย ผู้ตรวจควรหลีกเลี่ยงความเสี่ยงให้ได้มากที่สุดหรืออาจปร่ึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับยาต้านเอชไอวีก่อนเสี่ยง (PrEP) เพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กล่าวโดยสรุป ความแตกต่างระหว่างการตรวจทั้ง 2 แบบ สิ่งที่เห็นได้ชัด คือ องค์ความรู้และการรับมือของผู้ตรวจที่ควรจะต้องมีมากกว่าทั่วไป เนื่องจากในปัจจุบันต้องยอมรับว่าหลายคนยังคงมีมุมมองต่อเอชไอวี หรือ โรคเอดส์ ที่คลาดเคลื่อนอยู่พอสมควร ตลอดจนการถูกตีตราที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในสังคมปัจจุบัน หากผู้ตรวจมั่นใจว่าตนสามารถรับมือกับผลตรวจได้อย่างเหมาะสม การเลือกใช้ ชุดตรวจ HIV เพื่อความสะดวกสบาย ย่อมเป็นทางเลือกที่ดีไม่น้อยไปว่าการตรวจในคลินิก แต่ทั้งนี้ควรคำนึงถึงความน่าเชื่อถือของผู้จัดจำหน่ายชุดตรวจร่วมด้วย แนะนำว่าควรตรวจสอบแหล่งจัดจำหน่ายให้มั่นใจก่อนตัดสินใจซื้อจึงจะดีที่สุด

Click to rate this post!
[Total: 0 Average: 0]